Blogger Tips and Tricks

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วัตสันได้รักษา albert หรือไม่?

คำตอบก็คือไม่ และเราไม่ทราบข่าวคราวของ albert อีกเลย โดยหลังจากที่วัตสันได้ทำการทดลองกับ albert ได้ไม่นาน เขาก็ถูกบังคับให้ถอนตัวออกจากวงการวิชาการเนื่องจากไปมีเรื่องอื้อฉาวกับผู้ช่วยวิจัยของตนเอง
กระทั่งถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครสามารถยืนยันตัวตนของ albert ได้ว่าเป็นใคร ไม่มีผู้ใดทราบเลยว่าเกิดอะไรขึ้นกับ albert หลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกับทารกผู้นี้ระหว่างการวิจัยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการออกกฎเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมของการวิจัยเชิงจิตวิทยาในปี 1950 โดยห้ามมิให้ทำการวิจัยกับมนุษย์ในลักษณะเช่นนี้อีก
หมายเหตุ : นับตั้งแต่ปี 1921 วัตสันได้เข้าทำงานในวงการโฆษณา เขาใช้ชีวิตที่เหลือนำแนวคิดพฤติกรรมนิยมไปใช้ทำนายและควบคุมพฤติกรรมผู้บริโภค ถือได้ว่าเขาเป็นนักจิตวิทยาคนแรกๆ ที่ได้เข้าไปมีบทบาทในวงการโฆษณานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วัตสันนำหลักความรู้ของศาสตร์จิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ และทำให้คนเกิดความอยากได้สินค้าใหม่ๆ
* ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ Introducing Psychology เขียนโดย Nigel C. Benson
* ภาพประกอบจากสไลด์ presentation หัวข้อ 'Psychology in Advertising' (http://bit.ly/11jQO6r)

การตอบโต้ของสุนัข

อีวาน พาฟลอฟ (1849–1936) นักสรีระวิทยาชาวรัสเซียน ได้ก่อตั้งสถาบันทดลองทางการแพทย์ขึ้นในปี 1890 และศึกษาระบบการย่อยอาหารจนตีพิมพ์ผลงานเรื่อง Lectures on the Work of the Digestion Glands ในปี 1897
นับแต่ปี 1901 พาฟลอฟก็หันมาศึกษาการฝึกสอน "หรือวางเงื่อนไขพฤติกรรม" ให้สุนัขในห้องทดลองน้ำลายไหลโดยไม่ใช้อาหารล่อ
การศึกษาที่เลื่องชื่อของพาฟลอฟเริ่มต้นจากเขาและคณะวิจัยได้ผูกสุนัขไว้ในห้องทดลองที่มีการควบคุมเสียงและกลิ่น ซึ่งทำให้มันไม่สามารถได้เห็น ได้กลิ่น หรือได้ยินเสียงผู้ช่วยวิจัยของพาฟลอฟขณะนำอาหารมาให้ แต่ก่อนให้อาหาร พวกเขาจะสั่นกระดิ่ง หลังจากทำเช่นนี้ไปหลายครั้ง พวกเขาก็พบว่าสุนัขจะมีน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งแม้จะไม่มีอาหารให้ก็ตาม จากกระบวนการดังกล่าว พาฟลอฟได้ทำการวางเงื่อนไขสุนัขให้มีน้ำลายไหล เมื่อไหร่ก็ตามที่ได้ยินเสียงกระดิ่ง
พาฟลอฟยังพบว่าสุนัขจะน้ำลายไหลหากได้ยินเสียงอื่นๆ ที่คล้ายกับเสียงกระดิ่งที่ใช้ในการทดลอง
ที่มา:https://www.facebook.com/pages/ตามหลักจิตวิทยาแล้ว/220036768134715

Psychology

                                       มนุษย์เปรียบเหมือนเครื่องจักรที่มีความซับซ้อน เพราะเราไม่ได้ทำได้แค่สิ่งเดียว เหมือนเครื่องซักผ้าที่ทำได้แค่ซักผ้า ถึงแม้เราจะเจอกับเรื่องเดิมๆ เราก็ไม่ได้ตอบสนองเหมือนเดิมทุกๆ ครั้ง เช่น เราไม่ได้หิวทุกครั้งที่เห็นอาหาร และในเรื่องเดียวกัน คนแต่ละคนก็มีความแตกต่าง ตัวอย่างเช่น ทั้งๆ ที่ดูละครเรื่องเดียวกันบางคนร้องไห้แต่บางคนไม่ และที่สำคัญมนุษย์มีอารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา และความคิดที่ใช้เหตุผล กลไกที่ซับซ้อนที่สุดนี้เรียกสั้นๆ ว่า "จิตใจ" และ "จิตวิทยา" เป็นศาสตร์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเพื่อพยายามเข้าใจถึงสิ่งนี้
แต่การจะอธิบายว่าคนเราคิดหรือทำเพราะอะไรคงไม่ใช่เรื่องง่าย "จิตใจ" ที่เราเชื่อกันว่าเป็นตัวกำหนดความคิดหรือการกระทำไม่ใช่กลไกที่มองเห็นด้วยตา ถ้าเราจะอธิบายกลไกของจิตใจ ก็คงเทียบได้กับเด็กอายุสิบปีอธิบายกลไกของเครื่องขายน้ำอัดลมหยอดเหรียญ ซึ่งเขามองเห็นเพียงว่าถ้าหยอดเหรียญแล้วน้ำอัดลมจะออกมา แต่การศึกษาจิตวิทยายากยิ่งกว่า เพราะตามที่กล่าวไว้แล้วว่า เราไม่ได้ทำอะไรซ้ำๆ เหมือนเครื่องขายน้ำ และแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป
ถ้าให้เด็กยี่สิบคนลองวาดภาพ "บ้าน–ต้นไม้–คน" ก็คงได้รูปแบบภาพออกมายี่สิบแบบ เช่นเดียวกับนักจิตวิทยาหลายคนที่พยายามทำความเข้าใจจิตใจของมนุษย์ และลงเอยออกมาได้คำตอบที่หลากหลาย ฉะนั้นทฤษฎีหรือแนวคิดทางจิตวิทยาจึงมีมากมาย และไม่อาจยึดอันใดอันหนึ่งว่าถูกต้องที่สุดได้
แม้นักจิตวิทยายุคเก่าบางท่านจะยังคงยึดแนวคิดทางจิตวิทยาแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้ว นักจิตวิทยาสมัยใหม่มักผสมผสานแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน และมักจะไม่ถกเถียงกันอีกต่อไปว่าพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์มากกว่ากัน โดยยอมรับว่าปัจจัยทั้งสองต่างก็มีความสำคัญจึงไม่อาจแยกออกจากกันได้ ต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกันด้วย
คำนิยามสำหรับศาสตร์จิตวิทยา ณ ขณะนี้ คือ "จิตวิทยาหมายถึงการศึกษาจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์หรือสัตว์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์" โดยมีรากฐานจากแนวคิดเบื้องต้นทางจิตวิทยาที่สำคัญๆ หลากหลายแนวคิด เช่น แนวคิดของฟรอยด์, สกินเนอร์, มาสโลว์ ฯลฯ โดยทุกแนวคิดล้วนมาจากการสังเกต หรือการวิจัยอย่างเป็นระบบ และได้รับการยอมรับว่าเป็น "ศาสตร์" ที่สามารถใช้อธิบาย "จิตใจ" ที่ซับซ้อนของมนุษย์ได้
ในปัจจุบัน มีความต้องการหนังสือ งานเขียน และสื่อทางจิตวิทยาต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากถึงแม้งานเขียนทางจิตวิทยาจะได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย แต่งานเขียนบางชิ้นก็ยังขาดความเป็นวิชาการ อาจไม่มีแก่นสารหรือความน่าเชื่อถือมากนัก อย่างไรก็ตาม เราสามารถหาหนังสือจิตวิทยาดีๆ ได้ไม่ยากนักหากเลือกผู้เขียนที่มีความรู้ในศาสตร์นี้เป็นอย่างดี หรือพิจารณาหนังสือที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการหรือนักวิจารณ์
การเปิดสอนจิตวิทยาเป็นวิชาเอกและโทในระดับอุดมศึกษานั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศอังกฤษ จิตวิทยาเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับสองรองจากกฎหมาย ส่วนในสหรัฐอเมริกา จิตวิทยาเป็นรองก็เพียงแค่สาขาบริหารธุรกิจ เท่านั้น
ที่มา:https://www.facebook.com/pages/ตามหลักจิตวิทยาแล้ว/220036768134715